วันจันทร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2562

4. กาพย์ห่เรือ




กาพย์เห่เรือ


ระวัติผู้แต่ง  เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรไชยเชษฐ์สุริยวงศ์  เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ  ทรงเป็นกวีเอกในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย  ถือได้ว่าเป็นยุคทองของวรรณคดีที่สำคัญอีกยุคหนึ่ง พระองค์ทรงมีความสามารถในเชิงอักษรศาสตร์เป็นอย่างยิ่ง  โดยเฉพาะในด้านนิรุกติศาสตร์และฉันทศาสตร์  พระนิพนธ์ของพระองค์มีทั้งที่เกี่ยวกับทางโลกและทางธรรม  ทางธรรมได้แก่ นันโทปนันทสูตรคำหลวง  และพระมาลัยคำหลวง  ทางโลกได้แก่  กาพย์เห่เรือ  กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง  กาพย์ห่อโคลงนิราศพระบาท  กาพย์เห่เรื่องกากี เป็นต้น  ต่อมาได้บังเกิดเหตุอันน่าสลดใจ เมื่อเจ้าฟ้ากุ้งต้องพระราชอาญาว่าทรงลอบเป็นชู้กับเจ้าฟ่าสังวาลย์  จึงถูกลงทัณฑ์จนกระทั่งสิ้นพระชนม์ทั้งสองพระองค์  และประดิษฐานพระบรมอัฐิไว้ ณ วัดไชยวัฒนาราม


รูปแบบ  แต่งเป็นกาพย์ห่อโคลง  มีโคลงสี่สุภาพนำ  1  บท  เรียกว่าเกริ่นเห่  และตามด้วยกาพย์ยานี 11  พรรณนาเนื้อความโดยไม่จำกัดจำนวนบท


จุดประสงค์ในการนิพนธ์  คือ  ใช้เห่เรือเล่นในคราวเสด็จฯ โดยทางชลมาครเพื่อไปนมัสการพระพุทธบาท  จังหวัดสระบุรี  การเห่เรือนอกจากจะเป็นที่สำราญพระราชอิริยาบถแล้ว  ยังเป็นการให้จังหวะแก่ฝีพายด้วย

เนื้อเรื่องย่อ  กล่าวถึงขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ซึ่งประกอบด้วยเรือพระที่นั่งกิ่ง  และเรือที่มีโขนเรือเป็นรูปสัตว์ต่าง ๆ คือ  เรือ ครุฑยุดนาค เรือไกรสรมุข เรือสมรรถชัย เรือสุวรรณหงษ์ เรือชัย เรือคชสีห์ เรือม้า เรือสิงห์ เรือนาคา (วาสุกรี) เรือมังกร เรือเลียงผา เรืออินทรี  เห่ ชมปลา กล่าวพรรณนาชมปลาต่าง ๆ มี ปลานวลจันทร์ คางเบือน ตะเพียน กระแห แก้มช้ำ ปลาทุก น้ำเงิน ปลากราย หางไก่ ปลาสร้อย เนื้ออ่อน ปลาเสือ แมลงภู่  หวีเกศ ชะแวง ชะวาด ปลาแปบ  เห่ ชมไม้ เมื่อเรือแล่นเลียบชายฝั่ง ชมไม้ที่เห็นตามชายฝั่ง ซึ่งมี นางแย้ม จำปา ประยงค์ พุดจีบ พิกุล สุกรม สายหยุด พุทธชาด บุนนาค เต็ง แต้ว แก้ว กาหลง มะลิวัลย์ ลำดวน  เห่ชมนก เมื่อใกล้พลบค่ำเห็นนกบินกลับรัง ก็ชมนกต่าง ๆ มี นกยูง สร้อยทอง สาลิกา นางนวล แก้ว ไก่ฟ้า แขกเต้า ดุเหว่า โนรี สัตวา และจบลงด้วยบทเห่ครวญ เป็นการคร่ำครวญ คิดถึงนางที่เป็นที่รักในยามค่ำคืน
การดำเนินเรื่อง  ดำเนินเรื่องได้สัมพันธ์กับเวลาใน 1 วัน  คือ  เช้าชมกระบวนเรือ  สายชมปลา  บ่ายชมไม้ เย็นชมนก กลางคืนเป็นบทครวญสวาท
การพรรณนาความ ตอนชมปลา ชมไม้ ชมนก มีการพรรณนาพาดพิงไปถึงหญิงที่รัก เข้าทำนองเดียวกับนิราศ
ประเพณีการเห่เรือ  มีมาแต่โบราณ แบ่งเป็น 2 ประเภท  คือ  เห่เรือหลวง  และเห่เรือเล่น  เห่เรือหลวงเป็นการเห่เรือในราชพิธี  ส่วนเห่เรือเล่น ใช้เห่ในเวลาเล่นเรือเที่ยวเตร่  กาพย์เห่เรือเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร เดิมเป็นเห่เรือเล่น  ต่อมาในรัชกาลที่ 4  ใช้เป็นบทเห่เรือหลวง
ตำนานการเห่เรือ  สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่าการเห่เรือของไทยน่าจะได้แบบมาจากอินเดีย  แต่ของอินเดียใช้เป็นมนต์ในตำราไสยศาสตร์  บูชาพระราม  ของไทยใช้การเห่เรือบอกจังหวะฝีพายให้พายพร้อมกันเป็นการผ่อนแรงและให้ความเพลิดเพลิน
ลำนำการเห่เรือ  มี 3 ลำนำ คือ
1. ช้าละวะเห่  มาจาก  ช้าแลว่าเห่  เป็นการเห่ทำนองช้า  ใช้เห่เมื่อเรือเริ่มออกจากท่าและเมื่อพายเรือตามกระแสน้ำ
2. มูลเห่  เป็นการเห่ทำนองเร็ว ๆ ใช้เห่หลังจากช้าละวะเห่แล้ว ประมาณ 2-3 บท และใช้เห่เรือตอนเรือทวนน้ำ
3. สวะเห่  ใช้เห่เมื่อเรืจะเทียบท่า

บทเห่ชมเรือกระบวน
โคลง 
ปางเสด็จประเวศด้าว   ชลาไลย
ทรงรัตนพิมานไชย   กิ่งแก้ว
พรั่งพร้อมพวกพลไกร   แหนแห่
เรือกระบวนต้นแพร้ว   เพลิศพริ้งพายทอง ฯ
กาพย์
พระเสด็จโดยแดนชล   ทรงเรือต้นงามเฉิดฉาย
กิ่งแก้วแพร้วพรรณราย   พายอ่อนหยับจับงามงอน
นาวาแน่นเป็นขนัด   ล้วนรูปสัตว์แสนยากร
เรือลิ่วปลิวธงสลอน   สาครสั่นครั้นครื้นฟอง
เรือครุฑยุดนาคหิ้ว   ลิ่วลอยมาพาผันผยอง
พลพายกรายพายทอง   ร้องโห่เห่โอ้เห่มา
สรมุขมุขสี่ด้าน   เพียงพิมานผ่านเมฆา
ม่านกรองทองรจนา   หลังคาแดงแย่งมังกร
สมรรถไชยไกรกาบแก้ว    แสงแวววับจับสาคร
เรียบเรียงเคียงคู่จร    ดังร่อนฟ้ามาแดนดิน
สุวรรณหงส์ทรงภู่ห้อย    งามชดช้อยลอยหลังสินธุ์
เพียงหงส์ทรงพรหมินทร์    ลินลาศเลือนเตือนตาชม
เรือไชยไวว่องวิ่ง    รวดเร็วจริงยิ่งอย่างลม
เสียงเส้าเร้าระดม    ห่มท้ายเยิ่นเดินคู่กัน ฯ


3. คู่เทียบเสียง (Minimal Pairs)

คู่เทียบเสียง 

(Minimal Pairs)มินิมอล แพร์ส


การวิเคราะห์ระบบเสียง

           วิชาสัทศาสตร์ (Phonetics) เป็นวิชาที่ศึกษาลักษณะธรรมชาติของเสียงในภาษาของมนุษย์ โดยศึกษาลักษณะการเปล่งเสียงแต่ละเสียง  ศึกษาลักษณะทางกายภาพของเสียง  ตลอดทั้งศึกษา ลักษณะการรับฟังเสียง โดยไม่ได้จำกัดอยู่ที่ภาษาใดภาษาหนึ่ง แต่จะมุ่งบรรยายลกัษณะของเสียง ทุกเสียง ที่มนุษย์สามารถเปล่งออกมาได้ แต่จะไม่ศึกษาหน้าที่ของเสียงในภาษาใดเลย  
          วิชาสัทวิทยา (Phonology) มุ่งศึกษาเสียงพูดของภาษาใดภาษาหนึ่ง โดยศึกษาหน้าที่หรือ การทำงานของเสียง โดยคำนึงว่าภาษาเป็นระบบสื่อสาร ในแต่ละภาษามีการจัดเสียงให้เข้าระบบ อย่างไร ผู้ใช้ภาษาจึงสามารถสื่อสารกันได้  
          ทั้งสองวิชานี้สัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด เพราะการศึกษาสัทศาสตร์ต้องอิงระบบเสียงพูดซึ่ง เป็นที่มาของเสียงนั้น และในการศึกษาด้านสัทศาสตร์ต้องพิจารณาสัทลักษณ์ของเสียงสำคัญใน ภาษานั้น รายละเอียดทางด้านสัทศาสตร์อาจช่วยแนะสมมุติฐานทางด้านระบบเสียงด้วยเช่นกัน  
          หน่วยเสียง (Phoneme) หมายถึง เสียงที่มีหน้าที่แยกความหมายของคำ  นักภาษาศาสตร์ได้ กำหนดให้เขียนสัญลักษณ์แทนหน่วยเสียงอยู่ในเครื่องหมาย //  
          เสียงย่อย (Allophone) หมายถึง เสียงแปรต่างๆ ของหน่วยเสียงเดียวกัน ไม่ได้แยก ความหมายของคำ เราจึงถือว่าเสียงแปรเหล่านี้ไม่มีหน้าที่สำคัญในระบบเสียงของภาษา  
          คู่เทียบเสียง (Minimal Pair) หมายถึง คำสองคำที่มีเสียงแตกต่างกันเพียงเสียงเดียวและมี ความหมายแตกต่างกัน  ใช้สำหรับหาหน่วยเสียง   
          การแจกแจงแบบสับหลีก (complementary distribution) หมายถึง  เสียงสองเสียงหรือ มากกว่าที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันทางสัทศาสตร์ และเกิดขึ้นในตำแหน่งเฉพาะของแต่ละเสียง หรือ ณ  ที่ที่เสียงหนึ่งปรากฏอีกเสียงหนึ่งจะไม่ปรากฏ   
          การแปรอิสระ (free variation) หมายถึง เสียงสองเสียงหรือมากกว่า เกิดขึ้นในตำแหน่ง เดียวกันสามารถนำมาหาคู่เทียบเสียงได้  แต่เสียงนั้นไม่แยกความหมายของคำ ถือว่าเสียงสองเสียง นั้นเป็นเสียงย่อยของหน่วยเสียงเดียวกัน 

          หลักการพิจารณาหาหน่วยเสียง 
          1. เสียงสองเสียงจะเป็นคนละหน่วยเสียงเมื่อเกิดในสิ่งแวดล้อมที่เหมือนกัน และทำให้มี ความหมายต่างกัน 
          2. เสียงสองเสียงหรือมากกว่าที่มีความคล้ายคลึงกันทางสัทศาสตร์ (phonetic similarity)  อาจเป็นเสียงย่อยของหน่วยเสียงเดียวกัน เมื่อเกิดในสภาพที่มีการแจกแจงแบบสับหลีก (complementary distribution) หรือแบบแปรอิสระ (free variation) 
          3. เสียงสองเสียงจะเป็นคนละหน่วยเสียงเมื่อเกิดในสิ่งแวดล้อมที่คล้ายกัน และทำให้คำมี ความหมายต่างกัน

          ตัวอย่างการหาหน่วยเสียง  
                 [ma:]    มา      
                   [pa:]               ปา      
                   [ja:]                ยา    

เสียงพยัญชนะต้น คือ [m] [p] [j] เป็นเสียงเดียวกันที่แตกต่างกันในคำทั้ง 3 คำนี้ และ คำเหล่านี้มีความหมายแตกต่างกัน จึงถือว่าเสียงเหล่านี้เป็นหน่วยเสียง คือ หน่วยเสียง /m/ หน่วย เสียง /p/ และหน่วยเสียง /j/   




คู่เทียบเสียง หรือ มินิมอล แพร์ส (Minimal Pairs) คืออะไร??


มินิมอลแพร์ส คือคู่ของคำในภาษาใด ๆ ก็ตาม ที่ต่างกันด้วยองค์ประกอบของคำเพียง

ลักษณะเดียว โดยอาจต่างกันที่ เสียงสระ เสียงพยัญชนะต้น หรือเสียงตัวสะกด เป็นต้น

เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น จะยกตัวอย่างของคู่เทียบเสียง ในภาษาไทย เช่น
รัก กับ ลัก
กลอง กับ กล่อง
ขึ้น กับ คลื่น
อ่าว กับ อ้าว
เว้น กับ เวร

ซึ่งในภาษาต่างประเทศอื่นๆ ก็จะมีคู่เทียบเสียง เหล่านี้อยู่ด้วยเช่นกัน ยกตัวอย่างในภาษาอังกฤษ เช่น
 
sheep กับ ship
let กับ led
hustle กับ muscle
pull กับ pool
write กับ right

ภาษาฝรั่งเศส เช่น

ce กับ ceux
ton กับ temps
su กับ sous

ภาษาเยอรมัน เช่น

Wahn กับ wann
stehlen กับ stellen
ihm กับ im

          ตัวอย่างคู่เทียบเสียง  
                 ภาษาไทย         
                     [ma:]    มา      
                   [pa:]               ปา      
                   [ja:]                ยา  

 ทั้งสามคำนี้มีเสียงสระและวรรณยุกต์เหมือนกัน ต่างกันที่เสียงพยัญชนะต้น [m] [p] และ  [j]  เท่านั้น ดังนั้นคำทั้งสามนี้จึงถือเป็นคู่เทียบเสียง เนื่องจากเสียงพยัญชนะต้น  [m] [p] [j]  ทำให้ คำว่า มา ปา ยา มีความหมายต่างกัน และเนื่องจากเสียง  [m] [p] [j]  ทำให้คำมีความหมาย ต่างกัน จึงถือว่าเสียง [m] [p] [j]  เป็นคนละหน่วยเสียงกัน คือ หน่วยเสียง/m/ หน่วยเสียง /p/ และหน่วยเสียง /j/ 





คู่เทียบเสียง เหล่านี้ จะเป็นตัวช่วยในการฝึกหู ของเราในการฟังภาษาต่างประเทศ เราจะสามารถแยกคำในภาษาต่างประเทศต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง เวลาที่เราได้ยิน ภาษาต่างประเทศที่เรากำลังเรียนอยู่ ส่งผลให้เราสามารถเรียนรู้ได้เร็วมากขึ้น เพราะเราจะเริ่มคุ้นหูกับคำเหล่านี้ สามารถเชื่อมโยงเสียงในภาษาต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น มีความเข้าใจในการฟังดีขึ้นตามลำดับ ท้ายที่สุดเราก็สามารถนำไปสื่อสารต่อได้อย่างถูกต้องในที่สุด


เสียงย่อย
          ตัวอย่างเสียงย่อยของหน่วยเสียงเดียวกัน    
                ภาษาสมมติ 
                1. [sa:]                       ฟัน (คำนาม)  
                2.  [ša:]  ฟัน(คำนาม)

          คำทั้งสองมีเสียงพยัญชนะต้นเท่านั้นที่แตกต่างกัน คือ [s] ซึ่งเป็นเสียงที่เกิดจากฐานปุ่ม เหงือก และ [š] ซึ่งเป็นเสียงที่เกิดจากฐานฟัน แต่ความหมายของคำทั้งสองนี้ไม่แตกต่างกัน เราจึง ถือว่าเสียงพยัญชนะต้นทั้งสองเสียงนี้เป็นเสียงย่อยของหน่วยเสียงเดียวกันเพราะไม่ได้แยก ความหมายของคำ 2 คำนี้

2. ภาษาต่างประเทศในภาษาไทย

คำยืมภาษาต่างประเทศที่มีใช้ในภาษาไทย

         โดยธรรมชาติ ภาษาย่อมมีการเปลี่ยนแปลงและมีคำภาษาอื่นปะปน เพราะภาษาเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร สื่อความคิดของมนุษย์และเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งย่อมมีการถ่ายทอดหยิบยืมกันได้ ทำให้มีคำในภาษาใช้มากขึ้น สะดวกต่อการสื่อความหมายกัน ทั้งทำให้ภาษามีความเจริญงอกงามขึ้นอีกด้วย การเปลี่ยนแปลงของภาษาเกิดขึ้นได้ทุกด้านของภาษา ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงด้านเสียง การเปลี่ยนแปลงด้านศัพท์ และการเปลี่ยนแปลงด้านไวยากรณ์
การที่ภาษาไทยมีคำใหม่ ๆ เกิดขึ้นในปัจจุบัน ส่วนหนึ่งยืมมาจากภาษาต่างประเทศ ด้วยสาเหตุต่าง ๆ อาทิ สภาพภูมิประเทศ การอพยพย้ายถิ่นฐาน การติดต่อค้าขาย การศึกษา ศาสนา วรรณคดี เป็นต้น

สาเหตุที่ภาษาต่างประเทศเข้ามาปะปนในภาษาไทย


การติดต่อสัมพันธ์กันทำให้ภาษาต่างประเทศเข้ามาปะปนอยู่ในภาษาไทย ด้วยสาเหตุหลายประการ พอสรุปได้ดังนี้

  • สภาพภูมิศาสตร์ คือ ประเทศไทยมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศต่าง ๆ ได้แก่ พม่า ลาว เขมร มาเลเซีย จึงทำให้คนไทยที่อยู่อาศัยบริเวณชายแดนเดินทางข้ามแดนไปมาหาสู่กันและมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน จึงมีการแลกเปลี่ยนภาษากัน เช่น คนไทยที่อยู่ในจังหวัดสุรินทร์ ศรีษะเกษ บุรีรัมย์ ก็จะสามารถสื่อสารด้วยภาษาเขมรได้ คนไทยที่อยู่ในจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส สงขลา รับเอาภาษามาลายูเข้ามาใช้ เป็นต้น
     
  • ประวัติศาสตร์ ชนชาติไทยเป็นชนชาติที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน มีการอพยพโยกย้ายของคนไทยเข้ามาอยู่ในถิ่นอาศัยปัจจุบัน ซึ่งแต่เดิมมีชนชาติอื่นอาศัยอยู่ก่อน เช่น เขมร ละว้า มอญ หรือมีการทำศึกสงครามกับชนชาติอื่น มีการกวาดต้อนเชลยศึกและประชาชน พลเมืองชนชาติอื่น ๆ ให้มาอาศัยอยู่ในประเทศไทย ผู้คนเหล่านี้ได้นำถ้อยคำภาษาเดิมของตนเองมาใช้ปะปนกับภาษาไทยด้วย
     
  • ศาสนา คนไทยมีเสรีภาพในการนับถือศาสนามาเป็นเวลาช้านาน เมื่อนับถือศาสนาใดก็ย่อมได้รับถ้อยคำภาษาที่ใช้ในคำสอน หรือคำเรียกชื่อต่าง ๆ ในทางศาสนาของศาสนานั้น ๆ มาปะปนอยู่ในภาษาไทยด้วย เช่น ศาสนาพราหมณ์ใช้ภาษาสันสกฤต ศาสนาพุทธใช้ภาษาบาลี ศาสนาอิสลามใช้ภาษาอาหรับ และศาสนาคริสต์ใช้ภาษาอังกฤษ ดังนั้นภาษาต่าง ๆ ที่ใช้ ในทางศาสนาก็จะเข้ามาปะปนในภาษาไทยด้วย
     
  • การค้าขาย จากหลักฐานทางด้านประวัติศาสตร์ ชนชาติไทยมีการติดต่อค้าขาย แลกเปลี่ยนสินค้ากับชนชาติต่าง ๆ มาเป็นเวลาอันยาวนาน เช่น ชาวจีน ชาวโปรตุเกส ฝรั่งเศส อังกฤษ ฮอลันดา ตลอดถึงญี่ปุ่น ทำให้มีถ้อยคำในภาษาของชนชาตินั้น ๆ เข้ามาปะปนอยู่ในภาษาไทยเป็นจำนวนมาก ตลอดเวลาไม่มีวันสิ้นสุด
     
  • วรรณคดี วรรณคดีอินเดียที่ไทยนำเข้ามา เช่น เรื่องมหากาพย์รามายณะ และ มหาภารตะ แต่งขึ้นเป็นภาษาสันสกฤต อิเหนา เป็นวรรณคดีที่มีเค้าเรื่องมาจากเรื่องดาหลังของชวา ด้วยเหตุนี้วรรณคดีทำให้ภาษาสันสกฤตและภาษาชวาเข้ามาปะปนในภาษาไทย
     
  • ความสัมพันธ์ทางด้านวัฒนธรรมและประเพณี เมื่อชนชาติต่าง ๆ เข้ามาสัมพันธ์ติดต่อกับชนชาติไทย หรือเข้ามาตั้งหลักแหล่งอยู่ในประเทศไทย ย่อมนำเอาวัฒนธรรมและประเพณีที่เคยยึดถือปฏิบัติอยู่ในสังคมเดิมของตนมาประพฤติปฏิบัติในสังคมไทย นาน ๆ เข้าถ้อยคำภาษาที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมและประเพณีเหล่านั้น ก็กลายมาเป็นถ้อยคำภาษาที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของคนไทยมากขึ้น
     
  • การศึกษาและวิทยาการด้านต่าง ๆ จากการที่คนไทยเดินทางไปศึกษายังต่างประเทศ ทำให้ได้ใช้และพูดภาษาอื่น ๆ และรับเอาวิทยาการต่าง ๆ เมื่อสำเร็จการศึกษา จึงนำภาษาของประเทศนั้นมาใช้ปะปนกับภาษาของตน เช่น ภาษาอังกฤษ ในปัจจุบันประเทศไทยกำลังเตรียมความพร้อมด้านการศึกษาเพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียนและมาตรฐานสากล โดยการจัดการศึกษาให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมประเทศสมาชิกสมาคมอาเซียนและภาษาที่สามารถสื่อสารกันในสากลโลก ดังนั้นการหลั่งไหลของภาษาต่าง ๆ ที่จะเข้ามาปะปนในภาษาไทยก็จะเพิ่มมากขึ้น
     
  • ความสัมพันธ์ทางการทูต การเจริญสัมพันธไมตรีทางการทูต ในการอพยพ โยกย้ายหรือในการติดต่อทางการทูต ย่อมทำให้ภาษาของเจ้าของถิ่นเดิมหรือผู้อพยพโยกย้ายมาใหม่นำมาใช้ร่วมกัน เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส
     
  • อพยพย้ายถิ่นฐาน การอพยพย้ายถิ่นฐานมาจากสาเหตุหลายประการ เช่น สภาพเศรษฐกิจต้องไปประกอบอาชีพยังประเทศต่าง ๆ ภัยสงคราม การเมืองการปกครอง 

คำภาษาไทยที่ยืมมาจากภาษาต่างประเทศ


จากสาเหตุข้างต้น ไทยได้ยืมคำภาษาต่าง ๆ เข้ามาใช้ปะปนในภาษาไทยหลายภาษาด้วยกัน ดังนี้

  • บาลี กัญญา ขัตติยะ วิชา สันติ อิตถี
  • สันสกฤต บริษัท โฆษณา ประกาศ ภรรยา แพทย์ 
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ภาษาต่างประเทศในภาษาไทย
  • จีน ก๋วยเตี๋ยว ซาลาเปา เต้าฮวย บะหมี่ ลิ้นจี่
  • อังกฤษ กอล์ฟ โปรตีน คลินิก ฟอสฟอรัส นิวเคลี์ยร
  • เขมร กังวล ถนน บำเพ็ญ เผด็จ เสวย
  • ชวา-มลายู กริช กระดังงา ซ่าหริ่ม ปาหนัน อังกะลุง อุรังอุตัง
  • เปอร์เซีย กุหลาบ คาราวาน ตราชู บัดกรี สักหลาด
  • โปรตุเกส กะละแม กะละมัง สบู่ เลหลัง ปิ่นโต
  • ฝรั่งเศส กงสุล ครัวซองต์ คูปอง แชมเปญ บุฟเฟ่ต์
  • ญี่ปุ่น กิโมโน คาราเต้ ซูโม ยูโด สุกี้ยากี้
  • ทมิฬ กะไหล่ กุลี กานพลู กำมะหยี่ อาจาด
  • อาหรับ กะลาสี การบูร กั้นหยั่น กะไหล่ ฝิ่น
  • มอญ มะ เม้ย เปิงมาง พลาย ประเคน
  • พม่า หม่อง กะปิ ส่วย

ภาษาที่มีใช้ในภาษาไทยเป็นจำนวนมาก คือ ภาษาบาลี สันสกฤต เขมร จีน อังกฤษ โดยเฉพาะภาษาบาลี สันสกฤต เขมร จีน ไทยนำมาใช้และมีการเปลี่ยนแปลงรูปคำจนดูกลมกลืนกับภาษาไทยแทบจะจำแนกไม่ได้ว่าเป็นคำมาจากภาษาอื่น

อิทธิพลของภาษาต่างประเทศที่มีต่อภาษาไทย


ภาษาต่างปะเทศที่เข้ามาปะปนในภาษาไทยด้วยสาเหตุต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้น มีอิทธิพลต่อภาษาไทย คือ ทำให้ลักษณะของภาษาไทยเปลี่ยนไปจากเดิม ดังนี้

  • คำมีพยางค์มากขึ้น ภาษาไทยเป็นภาษาตระกูลคำโดด คำส่วนใหญ่เป็นคำพยางค์เดียว เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง เดิน ยืน นั่ง นอน เมือง เดือน ดาว ช้าง แมว ม้า ป่า น้ำ เป็นต้น เมื่อยืมคำภาษาอื่นมาใช้ ทำให้คำมีมากพยางค์ขึ้น เช่น
     
    - คำสองพยางค์ เช่น บิดา มารดา เชษฐา กนิษฐา ยาตรา ธานี จันทร กุญชร วิฬาร์ เป็นต้น
    - คำสามพยางค์ เช่นโทรเลข โทรศัพท์ พาหนะ จักรยาน ปรารถนา บริบูรณ์ เป็นต้น
    - คำมากกว่าสามพยางค์ เช่น กัลปาวสาน สาธารณะ อุทกภัย วินาศกรรม ประกาศนียบัตร เป็นต้น
     
  • มีคำควบกล้ำใช้มากขึ้น โดยธรรมชาติของภาษาไทยจะไม่มีคำควบกล้ำ เมื่อรับภาษาอื่นเข้ามาใช้เป็นเหตุให้มีคำควบกล้ำมากขึ้น เช่น บาตร ศาสตร์ ปราชญ์ พรหม ปราศรัย โปรด ปลูก ทรวง เกรด เคลียร์ เอ็นทรานซ์ ดรัมเมเยอร์ เป็นต้น
     
  • มีคำไวพจน์ใช้มากขึ้น (คำไวพจน์ คือ คำที่มีความหมายเหมือนกัน) ซึ่งสะดวกและสามารถเลือกใช้คำได้เหมาะสมตามความต้องการและวัตถุประสงค์ เช่น
    นก บุหรง ปักษา ปักษิน สกุณา วิหค
    ม้า พาชี อาชา สินธพ หัย อัศวะ
    ดอกไม้ กรรณิกา บุปผชาติ บุหงา ผกา สุมาลี
    ท้องฟ้า คคนานต์ ทิฆัมพร นภดล โพยม อัมพร
    น้ำ คงคา ชลาลัย ธารา มหรรณพ สาคร
    พระจันทร์ แข จันทร์ นิศากร บุหลัน รัชนีกร
  • มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา คำไทยแท้ส่วนใหญ่มีตัวสะกดตรงตามมาตรา เมื่อได้รับอิทธิพลภาษาต่างประเทศ คำใหม่จึงมีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราจำนวนมาก เช่น พิพาท โลหิต สังเขป มิจฉาชีพ นิเทศ ประมาณ ผจญ กัปตัน ปลาสเตอร์ คริสต์ เคเบิล ดีเซล โฟกัส เป็นต้น
     
  • ทำให้โครงสร้างของภาษาเปลี่ยนไป เช่น
    - ใช้คำ สำนวน หรือประโยคภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ เช่น
     
    สำนวนภาษาต่างประเทศ เขาพบตัวเองอยู่ในห้อง
    สำนวนภาษาไทย เขาอยู่ในห้อง
    สำนวนภาษาต่างประเทศ นวนิยายเรื่องนี้เขียนโดยทมยันตี
    สำนวนภาษาไทย ทมยันตีเขียนนวนิยายเรื่องนี้
    สำนวนภาษาต่างประเทศ มันเป็นเวลาบ่ายเมื่อข้าพเจ้ามาถึงอยุธยา
    สำนวนภาษาไทย ข้าพเจ้ามาถึงอยุธยาเมื่อเวลาบ่าย

    - ใช้คำภาษาต่างประเทศปนกับภาษาไทย ทั้ง ๆ ที่บางคำมีคำภาษาไทยใช้ เช่น
    เธอไม่แคร์ ฉันไม่มายด์ เขาไม่เคลียร์ 

http://phasathai59.blogspot.com/2016/10/blog-post_77.html