วันจันทร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2562

3. คู่เทียบเสียง (Minimal Pairs)

คู่เทียบเสียง 

(Minimal Pairs)มินิมอล แพร์ส


การวิเคราะห์ระบบเสียง

           วิชาสัทศาสตร์ (Phonetics) เป็นวิชาที่ศึกษาลักษณะธรรมชาติของเสียงในภาษาของมนุษย์ โดยศึกษาลักษณะการเปล่งเสียงแต่ละเสียง  ศึกษาลักษณะทางกายภาพของเสียง  ตลอดทั้งศึกษา ลักษณะการรับฟังเสียง โดยไม่ได้จำกัดอยู่ที่ภาษาใดภาษาหนึ่ง แต่จะมุ่งบรรยายลกัษณะของเสียง ทุกเสียง ที่มนุษย์สามารถเปล่งออกมาได้ แต่จะไม่ศึกษาหน้าที่ของเสียงในภาษาใดเลย  
          วิชาสัทวิทยา (Phonology) มุ่งศึกษาเสียงพูดของภาษาใดภาษาหนึ่ง โดยศึกษาหน้าที่หรือ การทำงานของเสียง โดยคำนึงว่าภาษาเป็นระบบสื่อสาร ในแต่ละภาษามีการจัดเสียงให้เข้าระบบ อย่างไร ผู้ใช้ภาษาจึงสามารถสื่อสารกันได้  
          ทั้งสองวิชานี้สัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด เพราะการศึกษาสัทศาสตร์ต้องอิงระบบเสียงพูดซึ่ง เป็นที่มาของเสียงนั้น และในการศึกษาด้านสัทศาสตร์ต้องพิจารณาสัทลักษณ์ของเสียงสำคัญใน ภาษานั้น รายละเอียดทางด้านสัทศาสตร์อาจช่วยแนะสมมุติฐานทางด้านระบบเสียงด้วยเช่นกัน  
          หน่วยเสียง (Phoneme) หมายถึง เสียงที่มีหน้าที่แยกความหมายของคำ  นักภาษาศาสตร์ได้ กำหนดให้เขียนสัญลักษณ์แทนหน่วยเสียงอยู่ในเครื่องหมาย //  
          เสียงย่อย (Allophone) หมายถึง เสียงแปรต่างๆ ของหน่วยเสียงเดียวกัน ไม่ได้แยก ความหมายของคำ เราจึงถือว่าเสียงแปรเหล่านี้ไม่มีหน้าที่สำคัญในระบบเสียงของภาษา  
          คู่เทียบเสียง (Minimal Pair) หมายถึง คำสองคำที่มีเสียงแตกต่างกันเพียงเสียงเดียวและมี ความหมายแตกต่างกัน  ใช้สำหรับหาหน่วยเสียง   
          การแจกแจงแบบสับหลีก (complementary distribution) หมายถึง  เสียงสองเสียงหรือ มากกว่าที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันทางสัทศาสตร์ และเกิดขึ้นในตำแหน่งเฉพาะของแต่ละเสียง หรือ ณ  ที่ที่เสียงหนึ่งปรากฏอีกเสียงหนึ่งจะไม่ปรากฏ   
          การแปรอิสระ (free variation) หมายถึง เสียงสองเสียงหรือมากกว่า เกิดขึ้นในตำแหน่ง เดียวกันสามารถนำมาหาคู่เทียบเสียงได้  แต่เสียงนั้นไม่แยกความหมายของคำ ถือว่าเสียงสองเสียง นั้นเป็นเสียงย่อยของหน่วยเสียงเดียวกัน 

          หลักการพิจารณาหาหน่วยเสียง 
          1. เสียงสองเสียงจะเป็นคนละหน่วยเสียงเมื่อเกิดในสิ่งแวดล้อมที่เหมือนกัน และทำให้มี ความหมายต่างกัน 
          2. เสียงสองเสียงหรือมากกว่าที่มีความคล้ายคลึงกันทางสัทศาสตร์ (phonetic similarity)  อาจเป็นเสียงย่อยของหน่วยเสียงเดียวกัน เมื่อเกิดในสภาพที่มีการแจกแจงแบบสับหลีก (complementary distribution) หรือแบบแปรอิสระ (free variation) 
          3. เสียงสองเสียงจะเป็นคนละหน่วยเสียงเมื่อเกิดในสิ่งแวดล้อมที่คล้ายกัน และทำให้คำมี ความหมายต่างกัน

          ตัวอย่างการหาหน่วยเสียง  
                 [ma:]    มา      
                   [pa:]               ปา      
                   [ja:]                ยา    

เสียงพยัญชนะต้น คือ [m] [p] [j] เป็นเสียงเดียวกันที่แตกต่างกันในคำทั้ง 3 คำนี้ และ คำเหล่านี้มีความหมายแตกต่างกัน จึงถือว่าเสียงเหล่านี้เป็นหน่วยเสียง คือ หน่วยเสียง /m/ หน่วย เสียง /p/ และหน่วยเสียง /j/   




คู่เทียบเสียง หรือ มินิมอล แพร์ส (Minimal Pairs) คืออะไร??


มินิมอลแพร์ส คือคู่ของคำในภาษาใด ๆ ก็ตาม ที่ต่างกันด้วยองค์ประกอบของคำเพียง

ลักษณะเดียว โดยอาจต่างกันที่ เสียงสระ เสียงพยัญชนะต้น หรือเสียงตัวสะกด เป็นต้น

เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น จะยกตัวอย่างของคู่เทียบเสียง ในภาษาไทย เช่น
รัก กับ ลัก
กลอง กับ กล่อง
ขึ้น กับ คลื่น
อ่าว กับ อ้าว
เว้น กับ เวร

ซึ่งในภาษาต่างประเทศอื่นๆ ก็จะมีคู่เทียบเสียง เหล่านี้อยู่ด้วยเช่นกัน ยกตัวอย่างในภาษาอังกฤษ เช่น
 
sheep กับ ship
let กับ led
hustle กับ muscle
pull กับ pool
write กับ right

ภาษาฝรั่งเศส เช่น

ce กับ ceux
ton กับ temps
su กับ sous

ภาษาเยอรมัน เช่น

Wahn กับ wann
stehlen กับ stellen
ihm กับ im

          ตัวอย่างคู่เทียบเสียง  
                 ภาษาไทย         
                     [ma:]    มา      
                   [pa:]               ปา      
                   [ja:]                ยา  

 ทั้งสามคำนี้มีเสียงสระและวรรณยุกต์เหมือนกัน ต่างกันที่เสียงพยัญชนะต้น [m] [p] และ  [j]  เท่านั้น ดังนั้นคำทั้งสามนี้จึงถือเป็นคู่เทียบเสียง เนื่องจากเสียงพยัญชนะต้น  [m] [p] [j]  ทำให้ คำว่า มา ปา ยา มีความหมายต่างกัน และเนื่องจากเสียง  [m] [p] [j]  ทำให้คำมีความหมาย ต่างกัน จึงถือว่าเสียง [m] [p] [j]  เป็นคนละหน่วยเสียงกัน คือ หน่วยเสียง/m/ หน่วยเสียง /p/ และหน่วยเสียง /j/ 





คู่เทียบเสียง เหล่านี้ จะเป็นตัวช่วยในการฝึกหู ของเราในการฟังภาษาต่างประเทศ เราจะสามารถแยกคำในภาษาต่างประเทศต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง เวลาที่เราได้ยิน ภาษาต่างประเทศที่เรากำลังเรียนอยู่ ส่งผลให้เราสามารถเรียนรู้ได้เร็วมากขึ้น เพราะเราจะเริ่มคุ้นหูกับคำเหล่านี้ สามารถเชื่อมโยงเสียงในภาษาต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น มีความเข้าใจในการฟังดีขึ้นตามลำดับ ท้ายที่สุดเราก็สามารถนำไปสื่อสารต่อได้อย่างถูกต้องในที่สุด


เสียงย่อย
          ตัวอย่างเสียงย่อยของหน่วยเสียงเดียวกัน    
                ภาษาสมมติ 
                1. [sa:]                       ฟัน (คำนาม)  
                2.  [ša:]  ฟัน(คำนาม)

          คำทั้งสองมีเสียงพยัญชนะต้นเท่านั้นที่แตกต่างกัน คือ [s] ซึ่งเป็นเสียงที่เกิดจากฐานปุ่ม เหงือก และ [š] ซึ่งเป็นเสียงที่เกิดจากฐานฟัน แต่ความหมายของคำทั้งสองนี้ไม่แตกต่างกัน เราจึง ถือว่าเสียงพยัญชนะต้นทั้งสองเสียงนี้เป็นเสียงย่อยของหน่วยเสียงเดียวกันเพราะไม่ได้แยก ความหมายของคำ 2 คำนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น